วันอาทิตย์ที่ 9 สิงหาคม พ.ศ. 2552

วันแม่แห่งชาติ

ความเป็นมาของวันแม่
แอนนา เอ็ม.จาร์วิส คุณครูแห่งรัฐฟิลาเดลเฟีย ชาวอเมริกัน เธอเป็นผู้เรียกร้องให้มีวันแม่ในอเมริกา แต่กว่าเธอประสบผลสำเร็จก็ครอบ 2 ปี ในปี ค.ศ. 194 (พ.ศ.2457) โดยประธานาธิบดี วูดโรว์ วิลสัน ได้มีคำสั่งให้ถือวันอาทิตย์ที่ 2 ของเดือนพฤษภาคมเป็นวันแม่แห่งชาติ และดอกไม้สำหรับวันแม่ของชาวอเมริกันก็คือดอกคาร์เนชั่น การใช้ดอกคาร์เนชั่นจะแบ่งออกเป็น 2 แบบ คือถ้าแม่ยังมีชีวิตอยู่ให้ประดับตกแต่งบ้าน หรือประตูด้วยดอกคาร์เนชั่นสีชมพู แต่ถ้าแม่ถึงแก่กรรมไปแล้วให้ประดับด้วยดอกคาร์เนชั่นสีขาว

ความเป็นมาของวันแม่แห่งชาติในประเทศไทย
งานวันแม่ในประเทศไทยได้จัดขึ้นครั้งแรกในวันที่ 10 มีนาคม พ.ศ. 2486 ณ.สวนอัมพร โดยกระทรวงสาธารณสุข แต่ช่วงนั้นได้เกิดสงครามโลกครั้งที่ 2 งานวันแม่ในปีต่อมาจึงต้องงดไป และเมื่อสงครามโลกครั้งที่ 2 ได้สงบลง หลายหน่วยงานได้พยายามให้มีวันแม่ขึ้นมาอีกแต่ก็ยังไม่ประสบผลสำเร็จเท่าที่ควร และยังมีการเปลี่ยนแปลงกำหนดวันแม่ไปอีกหลายครั้ง ต่อมารัฐบาลได้กำหนดให้วันแม่เป็นที่ 15 เมษายน โดยได้เริ่มจัดตั้งแต่ปี พ.ศ. 2493 แต่ก็ต้องหยุดลง เนื่องจากกระทรวงวัฒนธรรมถูกยุบไปทำให้สภาวัฒนธรรมแห่งชาติ ซึ่งเป็นผู้รับหน้าที่จัดงานวันแม่ขาดผู้สนับสนุน ต่อมาสมาคมครูคาทอลิกแห่งประเทศไทย ได้จัดงานวันแม่ขึ้นอีกครั้ง ในวันที่ 4 ตุลาคม พ.ศ. 2515 แต่ก็จัดได้เพียงปีเดียวเท่านั้น จนมาในปี พ.ศ. 2519
คณะกรรมการอำนวยการสภาสังคมสงเคราะห์แห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ ได้กำหนดวันแม่ขึ้นใหม่ให้เป็นวันที่แน่นอน โดยได้ถือเอาวันคล้ายวันพระราชสมภพของสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ วันที่ 12 สิงหาคมเป็นวันแม่แห่งชาติ และกำหนดให้ดอกไม้สัญลักษณ์ของวันแม่ คือ ดอกมะลิ นับตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา

ดอกมะลิ
ดอกมะลิเป็นดอกไม้ที่มีสีขาวบริสุทธิ์ ส่งกลิ่นหอมไปไกลและหอมได้นาน อีกทั้งยังออกดอกได้ตลอดทั้งปี เปรียบได้กับความรักอันบริสุทธิ์ของแม่ที่มีต่อลูกไม่มีวันเสื่อมคลาย ดังนั้นจึงได้กำหนดให้ดอกมะลิเป็นดอกไม้ประจำวันแม่แห่งชาติ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น